โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ เรื่อง “ แห่ไม้ค้ำสรี ” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค 1.1 ม.2/5 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง มาตรฐาน ค 5.1 ม. 2/10 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 2.1 ม.2/5 เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า มาตรฐาน ท 5.1 ม. 2/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน 4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ส 3.1 ม.2/2 อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธิการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ตัวชี้วัด ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของทางประวัติศาสตร์ ม.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและการเขียน สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน 6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย มาตรฐาน พ 1.1 เขาใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย ระบุปจจัยที่มีผลกระทบตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการดานรางกายจิตใจ อารมณสังคม และสติปัญญาในวัยรุน 7. กลุ่มสาระกาเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาตรฐาน ง 1.1 ม.2/1 สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม 8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล แห่ไม้ค้ำสรี ( อ่าน “ แห่ไม้ก๊ำสะหลี ”) การแห่ไม้ค้ำสรี หรือการแห่ไม้ค้ำต้นโพธิ์ อันหมายถึงพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพิธีกรรมที่ขยายจากการที่ปัจเจกชนนำไม้ค้ำที่ตนได้จัดทำขึ้นไปค้ำที่ต้น โพธิ์ ไม้ค้ำดังกล่าวอาจได้มาจากไม้ง่ามที่ใช้ในพิธีสืบชาตาหรือไม้ค้ำที่จัดหา ขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องในการถวายทานในเทศกาลสงกรานต์ การที่ได้นำเอาไม้ค้ำไปค้ำที่ต้นโพธิ์นี้ อาจจัดเป็นสัญลักษณ์หมายความว่าผู้นั้นมีส่วนในการค้ำชูพระพุทธศาสนา พบว่าต้นโพธิ์ที่มีไม้ค้ำมากที่สุด คือต้นโพธิ์ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง แต่ในบางท้องถิ่นแล้ว แทนที่แต่ละคนจะนำเอาไม้ค้ำไปค้ำต้นโพธิ์ตามประสงค์ของแต่ละคนนั้น เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะนัดหมายให้ชาวบ้านร่วมกันไปหาไม้ค้ำซึ่งจะมีขนาดใหญ่แล้วตกแต่งให้งาม จากนั้นจึงทำพิธีแห่ไม้ค้ำนั้นร่วมขบวนกันเพื่อไปถวายวัดและนำไปค้ำต้นโพธิ์ ดังจะเห็นได้จากกรณีของศรัทธาชาวบ้านในอำเภอจอมทองและอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ประชาชนในถิ่นดังกล่าว นั้นถือว่า เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์แล้ว ทุกคนควรจะทำพิธีสืบชาตาของตนเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่ตนเองได้มีชีวิตอย่าง มีความสุขผ่านพ้นไปอีกหนึ่งปีและเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองที่จะต้องผจญ โลกอย่างมีความสุขในปีต่อไปอีกด้วย อุปกรณ์ส่วนหนึ่งในพิธีสืบชาตาราศีดังกล่าวคือไม้ที่มีง่ามขนาดต่างๆ สุดแล้วแต่ความพอใจ แต่ขอให้เป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นง่ามและเป็นไม้ที่ตัดมาใหม่ๆ แล้ว นำไปเข้าพิธีสืบชาตา เสร็จแล้วจะนำไปตั้งค้ำต้นโพธิ์ที่อยู่ใกล้บ้าน ส่วนมากจะนำไปค้ำต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่มีอยู่ตามวัดต่างๆ ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่นั้น ชาวบ้านนิยมนำไปค้ำต้นโพธิ์ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารและวัดต่างๆ ที่ตนเองและครอบครัวทำบุญเป็นประจำ ในตอนเริ่มแรกก่อนที่ พิธีการดังกล่าวจะถูกยึดถือปฏิบัติจนกลายมาเป็นประเพณีแห่งไม้ค้ำโพธิ์อย่าง ทุกวันนี้ ประชาชนยังไม่มีความคิดที่จะทำร่วมกัน ต่างคนต่างไปจัดหาและทำพิธีสืบชาตาราศีแล้วนำไม้ไปค้ำต้นโพธิ์เอง ต่อมาเมื่อได้ทำเป็นประจำทุกๆ ปี นานๆ เข้าพอถึงวันที่ ๑ - ๑๔ เมษายนของทุกปี ประชานก็ได้รวมกันเป็นหมวด เป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล เช่น จัดรวมกันเป็นหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านหลวง หมู่ที่ ๖ ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง เป็นต้น ต่างจัดหาไม้ง่ามที่มีลักษณะดีงามแล้วนำมาตกแต่งด้วยการทาขมิ้น และประดับกระดาษสี จากนั้นจึงนำขึ้นเกวียนแห่ไปทำพิธีค้ำต้นโพธิ์ในวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ในช่วงที่แห่ไปนั้น นอกจาจะมีผู้คนทั้งผู้เฒ่าผู้แก่หนุ่มสาวเข้าขบวนที่แต่งกายงดงามตามประเพณี พื้นเมืองแล้ว ยังมีการละเล่นแบบพื้นเมืองด้วย เช่น การฟ้อนเชิง ( อ่าน ” ฟ้อนเจิง ”) หรือร่ายรำในท่าต่อสู้ ขับเพลงซอเล่นดนตรีพื้นเมืองและแห่เป็นรูปขบวนไป และสองข้างทางที่ขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ง่ามจะมีการรดน้ำดำหัวอวยชัยให้พรกัน สนุกสนานไปด้วย ต่อมาเมื่อประมาณ ๒๐ กว่าปีนี้ ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ก็ได้รับการปรับปรุงพัฒนาขึ้นตามยุคตามสมัย โดยเฉพาะในด้านการตกแต่งประดับประดาให้เข้าแบบมากขึ้น แทนที่ต่างคนต่างแห่ไปคนละเวลา ก็ได้พัฒนาเป็นการแห่ในเวลาเดียวกัน โดยมีการนัดหมายให้ไปพร้อมกัน ณ จุดใดจุดหนึ่ง แล้วเคลื่อนขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของแต่ละกลุ่มแห่ไปยังวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เป็นรูปขบวนยาวเหยียดมองดูสวยงาม นับว่าเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะให้มั่นคงยิ่งขึ้น ดนตรีที่นำมาแห่นอกจากจะมีดนตรีพื้นเมืองแล้วยังมีดนตรีสากลเข้าร่วม ประยุกต์ด้วยตามกาลสมัย ต่อมาทางราชการได้มองเห็นความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอันนี้ใน เรื่องของประเพณีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอจอมทอง และในเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงได้เชิญชวนหน่วยงาน องค์กร รัฐวิสาหกิจ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนภายในอำเภอจอมทอง ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แต่ละกลุ่มไปดำเนินการประดับตกแต่งขบวนแห่ไม้ ค้ำโพธิ์ให้สวยงาม และจัดให้มีการประกวดและมอบรางวัลให้แก่ขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์เพื่อเป็นการให้ กำลังใจแก่ประชาชนที่ยึดถือประเพณีนี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น