วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556


  โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เรื่อง “ วัฒนธรรมท้องถิ่นในอำเภอแม่สอด 
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค 1.1 ม.2/5 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง มาตรฐาน ค 5.1 ม. 2/10 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 2.1 ม.2/5 เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า มาตรฐาน ท 5.1 ม. 2/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ส 3.1 ม.2/2 อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธิการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ตัวชี้วัด ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของทางประวัติศาสตร์ ม.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและการเขียน สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย มาตรฐาน พ 1.1 เขาใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย ระบุปจจัยที่มีผลกระทบตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการดานรางกายจิตใจ อารมณสังคม และสติปัญญาในวัยรุน
7. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
8. กลุ่มสาระกาเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาตรฐาน ง 1.1 ม.2/1 สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 3 ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ตัวชี้วัด 3.2 มีทักษะสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


อำเภอแม่สอด


อำเภอแม่สอด 
           เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขาระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยทิวเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาฝั่งประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาและบุตรเป็นคนไทยด้วย อำเภอแม่สอดอยู่ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร
แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้
ตามผังประเทศไทย พ.ศ. 2600 อำเภอแม่สอดได้ถูกสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามหนึ่งในแนวทางของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในประเทศพม่า

ประวัติ

การตั้งถิ่นฐาน

แม่สอดเป็นเมืองอยู่ทางซีกตะวันตกของแม่น้ำปิง ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404-2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพะหน่อแก" ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือได้แก่ชาวอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (ชาวอำเภอเถินยังอพยพไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย) พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอด ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

แม่สอดเป็นเมืองในหุบเขาตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบแม่สอด โดยเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้วเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลหอยชนิดแอมโมไนต์ แอ่งที่ราบแม่สอดมีภูเขาล้อมรอบเหมือนอยู่ในก้นกระทะ แอ่งที่ราบมีลักษณะเป็นแนวยาว มีแม่น้ำเมยไหลผ่านทางยาวไปตามแนวเขา และมีลักษณะทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอดและบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย อย่างไรก็ดี แม่สอดมิใช่เมืองเดียวโดดเดี่ยวในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังมีอีกหลายเมืองที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเมย ทั้งพบพระ แม่สอด เมียวดี แม่ระมาด และท่าสองยาง
ตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด ทั้งที่ดอยมะขามป้อมหนึ่งและสอง ดอยสระกุลี ดอยมณฑา และดอยส้มป่อย บนเส้นทางสายแม่สอด-ตาก มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอสมควร ทั้งเครื่องใช้ไม้สอยและอาวุธ สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพของไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา
กรุโบราณซึ่งพบที่บ้านพบพระ ก็เป็นแหล่งโบราณคดีอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญ วัตถุโบราณที่พบมีทั้งเครื่องไม้ใช้สอย ทั้งอาวุธและเครื่องประดับสำริด สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยจากจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-4[2]

สมัยประวัติศาสตร์

         อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ เป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองนี้แล้วถึง 3 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกอบอิสรภาพ ณ เมืองแครงและยกทับกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากและเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่าครั้งที่ 2

ในสมัยสุโขทัย มีซากเมืองโบราณอีกหลายแห่งบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมย ทั้งในตัวเมืองแม่สอดและในเมียวดีฝั่งพม่า ที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลสามหมื่นในอำเภอแม่ระมาด แต่ละแห่งที่พบนั้นสร้างขึ้นต่างยุคกัน บางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย คำว่า เมืองฉอด ก็ปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยเช่นกัน มีการกล่าวถึง เมืองฉอด ในศิลาจารึกหลายหลัก อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ 1 และ 2 แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์แน่นอนได้ว่า เมืองฉอดอยู่ที่ไหนในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังจะต้องอาศัยการสำรวจเพิ่มเติม ที่ว่า เมืองฉอดคือแม่สอดนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
ในสมัยอยุธยา คำว่า "เมืองฉอด" ไม่มีปรากฏในเอกสาร โดยมีการกล่าวถึงด่านแม่ละเมาซึ่งอยู่ในเขตแม่สอด และเป็นเส้นทางเดินทัพของกองทัพพม่า

สมัยปัจจุบัน

อำเภอแม่สอดได้ถูกเสนอชื่อเพื่อยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดแม่สอดพร้อมกับสี่อำเภอข้างเคียง

ที่มาของชื่ออำเภอ

      สำหรับความเป็นมาของชื่อนั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย ประการแรก กล่าวกันว่า แม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอด ส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย

สภาพทางภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

แม่สอดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 42 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล116.2 เมตร ณ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดตาก รองจากอำเภออุ้มผาง และอำเภอสามเงา
อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 3 อำเภอ และ 1 รัฐในประเทศพม่า ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406,650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอแม่สอด ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทยประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตากตะวันออก คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า ส่วนฝั่งตากตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง
ส่วนที่เป็นที่ราบต่ำถึงเป็นลอนลาด มีความสูงอยู่ระหว่าง 80-200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 16 ของจังหวัด บริเวณที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชันมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 10.5 ของจังหวัด
พื้นที่ที่เหลือเป็นเนินเขาเตี้ยไปจนถึงภูเขาสูง ซึ่งในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง 300-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ร้อยละ 34.8 ของจังหวัด และมีความสูงมากกว่า 700-2,200 เมตร อยู่ร้อยละ 38.4 ของจังหวัด ยอดเขาสูงสุดทางตะวันออกของอำเภอท่าสองยางที่เคยวัดได้ มีความสูง 1,752 เมตร และยอดเขาสูงสุด ทางตะวันออกของอำเภออุ้มผางที่เคยวัดได้มีความสูง 1,898 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่